ประวัติวัดสว่างอารมณ์
ความเป็นมาแต่เดิม วัดสว่างอารมณ์เดิมมีชื่อว่า วัดคลองแขก โดยเป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช ๒๔๒๕ ที่ตั้งเดิมเป็นพื้นทีป่า มีพืชพรรณนานสมบูรณ์ เจ้าของเดิมคนแรกเป็นของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมสวรได้ตกทอดมาถึงคนสุดท้ายคือ นายจุ่น ทังสุบุตร ได้มอบให้เป็นธรณีสงฆ์ ตั้งบัดนั้นเป็นต้นมาและได้มีประชากรได้ตั้งบ้านเรือนกระจัดกระจายและประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นส่วนใหญ่ ในสมัยนั้นประชากรมีหลายชนชาติ หลายเผ่าพันธุ์ มีทั้ง ไทย จีน และแขก โดยแขกสมัยนั้นทำการขุดคลองเพราะว่าในพื้นที่นั้นเป็นที่ดอน จึงได้ชื่อว่า คลองแขกหัวโต อาจจะเป็นไปได้ว่าคนแขกสมัยนั้นโผกหัวจนหัวโต ต่อได้มีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆแต่ยังไม่มีวัดซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและสถานที่ประกอบศาสนพิธีต่างๆ จึงทำการรวมมือสร้างวัดขึ้นมา เริ่มก่อสร้างในสมัย พุทธศักราช ๒๔๒๕ โดยมีความคิดเห็นตรงกันว่าด้านทิศตะวันตกนั้นมีคลองผ่าน มีความสมบูรณ์ดี เหมาะแก่การเพราะปลูกและเหมาะกับการสร้างจึงได้ชื่อว่า วัดคลองแขก เวลาผ่านมาจนประชากรเพิ่มขึ้นมาจึงทำการเปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดสว่างอารมณ์ ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๘๑ จนมาถึงปัจจุบันนี้
ประวัติปูชนียวัตถุของวัด
พระะพุทธรูปประจำอุโบสถ(หลวงพ่อพุทธสิทธิ)ปรางสะดุ้งมาร มีหน้าตักขนาด ๓๐ นิ้ว
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดและมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมา เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๙ เป็นอุโบสถมหาอุดต่อมาพระอธิการชุ่ม เตชธมโม ก็ได้ทำการซ่อมแซมตลอดมา และต่อมาพระครูโสภณสาโรภาส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้เริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่เพื่อทดแทนหลังเก่าที่ชำรุดและทรุดโทรมไปมากและได้พัฒนาวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๙เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พระราชครูวามเทพมุนี หัวหน้าพราหมณ์ สำนักพระราชวัง เป็นผู้ทำพิธีบวงสรวงพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดสว่างอารมณ์ และแบบของพระอุโบสถ ช่างหลวงเป็นผู้ออกแบบ ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นยอดพระมหามงกุฎ ส่วนหลังคาพระอุโบสถ ใช้กระเบื้องสีเดียวกับพระอุโบสถ วัดพระแก้ว ภายในพระอุโบสถมีรูปจิตรกรรมโดยฝีมือช่างหลวง