เครื่องรางของขลังในสมัยโบราณมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นอันเป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้ชายชาตรีคือ “แหวนพิรอด” อนึ่งคนสมัยก่อนมีนิสัยรบทัพจบศึกสงครามอยู่บ่อยครั้งต้องมีการต่อสู้กับข้าศึกจึงมีผู้ประดิษฐ์คิดค้นของขลังชนิดนี้ขึ้นมาโดยอาศัยว่าจะทำให้คงกระพันชาตรี ฟันแทงไม่เข้า ป้องกันตัวจากข้าศึกศัตรู
“แหวนพิรอด” ในปัจจุบันนี้ค่อนข้างหายาก และอาจารย์ที่ทำดูจะหายากตามไปด้วย นับเป็นวัฒนธรรมเครื่องรางโบราณอีกชนิดหนึ่งที่กำลังจะหายไปกับยุคโลกาภิวัฒน์ หรือยุคเทคโนโลยี ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะนำพาสังคมไทยไปในรูปแบบใดจะเป็นการสร้างชาติ หรือสิ้นชาติที่หมาย ถึงการสูญเสียวัฒนธรรมเก่าๆไปแลกกับวัฒนธรรมขยะยุคไอ.ที. (I.T.) ที่วัยรุ่นปัจจุบันมักมีพฤติกรรมแปลกให้เห็นอยู่เสมอๆ ในหน้าหนังสือพิมพ์ ฝากข้อคิดไว้นิดว่าชาติจะมีความหมายอะไร ถ้าหากเราไม่สามารถรักษาเอกลักษณ์คือวัฒนธรรมเอาไว้ได้ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด ตามตำราไสยศาสตร์นั้นบอกเล่าเรื่องราวของ แหวนพิรอดว่ามีสองชนิด คือชนิดเล็กใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมแขน ซึ่งมักเรียกว่า “สนับแขนพิรอด” (ชนิดนี้บางทีทำด้วยโลหะผสมก็มี ตรงหัวทำเป็นเหมือนหัวแหวนพิรอด) ซึ่งสนับแขนนี้เดิมยังใช้เป็นอาวุธของนักมวยในการกอดปล้ำที่เข้าวงใน เพราะแหวนแขนที่ทำจากด้ายดิบหากลงรักจะแข็งและคม ซึ่งใช้ถูกับผิวหนังนักมวยฝ่ายตรงข้ามทำให้เจ็บและไม่อยากเข้าต่อสู้ด้วยการกอดปล้ำ เป็นการจำกัดรูปมวยฝ่ายตรงข้ามเรียกว่าพาให้เขาเข้าทางมวยฝ่ายเรา ซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทย แต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่องรางอย่างหนึ่งเท่านั้น วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอด วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระดาษว่าวกับถักด้วยเชือก ตำนานแหวนพิรอดเมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้น แหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง วัดประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่๕) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ที่สร้างแหวนพิรอดที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ประสพพบเห็น โดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน เป็นอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ได้นำแหวนพิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จ ได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า “เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัวม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดี” ซึ่งพอจะคะเนได้ว่าพระเถระทั้งสองรูปน่าจะเป็นเกจิอาจารย์ของเมืองกรุงเก่า(อยุธยา) แหวนพิรอดเดิมทีนั้นใช้วัสดุที่หาได้จากใกล้ๆตัวตามวิถีชีวิตคนในสมัยนั้นคือมักทำด้วย กระดาษว่าว ก็เพราะเป็นกระดาษที่เหนียวแน่นดีกว่ากระดาษชนิดอื่น ลงยันต์แหวนพิรอด เมื่อจะต้องทำลงยันต์แหวนพิรอดในกระดาษยันต์นี้ประกอบด้วยรูปพระภควัม หรือเลขยันต์ตามแต่พระเกจิอาจารย์แต่ละสายจะกำหนดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้จะเห็นว่าเป็นกลเม็ดเด็ดพรายตามแต่สำนักใดจะสร้างขึ้น โดยมีความเชื่อกันอยู่อย่างหนึ่งถึงวิธีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องรางแหวนพิรอด ที่สร้างขึ้นว่ามีอิทธิคุณถึงขั้นหรือยังคือเมื่อทำแล้วให้ทดลองเอาไฟเผาดู ถ้าไม่ไหม้ก็ใช้ได้ พระอาจารย์ผู้สร้างจึงจะนำมาตกแต่งเพื่อความมั่นคงทนทานและสวยงาม อันแหวนพิรอดนั้น โดยมากมักจะลงรักเพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แหวนผุง่ายไม่คงทน ลอร์ดออฟเดอะริงค์ อย่างไทยๆ เรา ในตำราไสยศาสตร์นั้นยังระบุอธิบายวิธีใช้ไว้ว่า ถ้าจะเข้าสู้รบทำสงคราม ให้ถือแหวนกระดาษนี้แล้วบริกรรมด้วย “มะอะอุฯ” และถ้าจะให้เป็นตบะเดชะในสงคราม ทำให้ข้าศึกครั่นคร้าม ให้บริกรรมด้วยคาถา “โอม ยาวะ พะกาสะตรีนิสิเหฯ” ว่ากันว่าไม่แต่เพียงศึกมนุษย์ถึงศึกเทวดามาก็ไม่ต้องกลัว ซึ่งคงเป็นแบบเรื่องราวของ “ลอร์ดออฟเดอะริงค์”อย่างไทยๆ เรา ความเป็นมาของเงื่อน เคยได้ยินคนรุ่นเก่าเล่ากันว่า แหวนหลวงพิรอด เรื่องนี้เห็นจะเป็นเพราะลากเข้าความกันมากกว่า เท่าที่อ่านพบจากการสันนิษฐานของนักปราชญ์ชาวตะวันตก(อิตาลี)ที่เข้ามารับราชการ จนเป็นถึงเจ้ากรมยุทธศึกษาของกองทัพบกไทยคนแรกในการทหารยุคใหม่คือ ยี. อี.เยรินี (พันเอกพระสารสารขันธ์)กล่าวว่า “ชื่อ พิรอด มาจากภาษาสันสกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า อันขัดกันอยู่ อันได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง อันตรงกันข้ามเมื่อพิจารณาจากลายที่ถัก ก็ใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอดนั้นเป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาก หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือรูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือนกัน เงื่อนชนิดนี้ยิ่งดึงยิ่งแน่น” คาถาอาคม ที่ใช้กับเงื่อน ขอเกจิอาจารย์ ต่างๆ เงื่อนพิรอดนั้นจัดเป็นเงื่อนสำคัญที่ใช้ในการต่อเชือกหรือการผูกโยงเพื่อความมั่นคง แน่นหนาอย่างวิชาเชือกคาดสายหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ ที่ต่อยุคมายังหลวงปู่ธูปวัดแค นางเลิ้ง กทม. ซึ่งพระเกจิอาจารย์ท่านนี้เป็นผู้ทรงคุณวิทยาสูงส่งเฉพาะด้านมหานิยมก็เข้มขลังขนาดอมตะ ดาราอย่าง คุณ มิตร ชัยบัญชายังนับถือเป็นลูกศิษย์ซึ่งวงการผู้นิยมเครื่องรางก็ทราบกันดี โดยเชือกคาดสายหลวงปู่ขันนั้นเวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า “พระพิรอดขอดพระพินัย” และเวลาแก้เชือกก็มี คาถาว่า “พระพินัยคลายพระพิรอด” อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่างเชือกหรือการ ผูกตะกรุด พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิอาจารย์สร้างก็คือ “ผ้าขอด” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วยโดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด “พิรอดเดี่ยว” เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเรื่องผ้าขอดในยุคเก่าๆเช่นหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ จ.อยุธยา หลวงพ่อกวย ชุตินธโร จ.ชัยนาท เป็นต้น ในส่วนเครื่องรางผ้าขอดสายวัดสะแก จ.อยุธยา ก็มีชื่อเช่นกันแต่เป็นฆารวาส ที่ชื่อว่า เฮง ไพรวัลย์ ลอยเรืออยู่ท่าน้ำวัดสะแกบางคนเรียก ว่า อาจารย์เฮงเรือลอยก็มี
สำหรับแหวนพิรอดในปัจจุบันที่เข้มขลังคือแหวนพิรอด หลวงพ่อขวัญ วัดบ้านไร่ พิจิตร หรือ แหวนตะกร้อหลวงพ่อขวัญ ปวโร วัดบ้านไร่ อ.สามง่าม จ.พิจิตร มากประสพการณ์ โดนสุนัขกัดขย้ำ ไม่เข้า , รถมอเตอร์ไซด์คว่ำไม่เป็นไร ฯลฯ นอกจากนี้แหวนของท่านยังถือว่าเป็นแหวนเสี่ยงทายอีกด้วยหากแหวนมีประกายแวววาวเป็นสีเหลืองสุกเปล่งปลั่งเหมือนทองทองคำ ก็แสดงว่าคนๆนั้นมีดวงชะตารุ่งโรจน์จะมีโชคลาภและรอดพ้นจากเคราะห์ร้ายต่างๆ แต่ถ้าแหวนหมองคล้ำก็แสดงว่ากำลังมีเคราะห์ร้ายจึงเตือนให้ระวัง แต่หากมีแหวนอยุ่อานุภาพของแหวนก็จะช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
สำหรับพระคาถาการอาราธนาแหวนพิรอด
ให้ตั้งนะโมสามจบ แล้วระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดา และผู้สร้างแหวนแล้วจึงอาราธนาว่า “โอมพิรอดปลอดภัย คุณครูกูทำให้ไว้คุ้มครองภัยสวัสดี อิติปีโส โสปีติอิ นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ นะมะพะทะ อะอาอิอีอึอือสวาหะเพี้ยง” แล้วต่อด้วย คาถามณีจินดามนต์(บทนี้ท่านให้ภาวนาขอดพระพิรอดไว้รอดราวตากผ้าหรือมือไปจับของไม่ดีก็ไม่เลื่อม) โอม ติละปาตุลังเต มะกันติ หะเนติ อุรุปัตตานิ มะยังติภัณเต
ปาฏิหาริย์แหวนตะกร้อ(พิรอด)ของหลวงปู่ขวัญ
ผมได้คุยกับคนคนนี้เองเลย เขาชื่อสิบเอกสมพงษ์ ปัญญาพิมพ์ ตอนนั้นเป็นทหารอยู่ที่ลพบุรี เขามากราบขอบคุณหลวงปู่ ซึ่งได้ช่วยชีวิตเขาไว้โดยรายนี้เป็นพลร่มป่าหวาย ไปฝึกโดดร่มบังเอิญร่มขาดกลางอากาศร่วงลง ในตอนนั้นเขาไม่ได้ใส่อะไรนอกจากแหวนตะกร้อหลวงพ่อขวัญเท่านั้น เขาจึงเชื่อว่าหลวงพ่อขวัญเป็นผู้ช่วยชีวิตเขา ตอนนั้นเขาเพิ่งออกจากโรง พยาบาลกระโหลกเขายังไม่เต็มเลย ยังเห็นสมองเต้นตุบๆ ที่ศรีษะของเขา ผมถามว่าถ้าปรกติกรณีแบบนี้จะเป็นอย่างไร เขาบอกว่า “เอาปิ๊ปเก็บเศษเนื้อของผมได้เลยครับ” รายละเอียดจาก คมชัดลึก
ที่มา palungjit.org